ทั้งนี้การเดินทางกลับไทยของนายทักษิณ แม้จะมีการพูดถึงตลอดหลายปี ตั้งแต่ถูกรัฐประหารยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเดินทางกลับประเทศไทย เมื่อปี 2551 จนปรากฎภาพของการก้มกราบแผ่นดิน แต่ในครั้งนั้นก็มีเหตุให้ต้องเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้ง จนนับระยะเวลาที่ต้องอยู่ในต่างแดนกว่า 17 ปี
โดยช่วงเช้าของวันที่ 22 สิงหาคม 2566 เครื่องบินเจ็ตส่วนตัวสีขาวสุดหรู Gulfstream G650 ของนายทักษิณ ชินวัตร ออกเดินทางจากสนามบินต้นทางในประเทศสิงคโปร์ ก่อนลงจอดที่สนามบินดอนเมือง
ประมวลภาพเหตุการณ์ "ทักษิณ" กลับไทย ก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
“ยิ่งลักษณ์” โพสต์อวยพร “ทักษิณ” กลับบ้าน เผย “วันที่พี่รอคอยมาถึงแล้ว”
รู้จัก 4 โรคประจำตัว “ทักษิณ” หลังราชทัณฑ์รับตัวเข้าเรือนจำ
ท่ามกลางบรรยากาศมวลชนคนเสื้อแดง และนักการเมืองที่นัดหมายมารอต้อนรับ อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย, นายสนธยา คุณปลื้ม, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ มารอต้อนรับและให้กำลังใจอดีตนายกรัฐมนตรี ถึงบริเวณอาคารลานจอดเครื่องบินส่วนตัว หรือ MJet ในสนามบินดอนเมืองคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้
หลังจากนั้น นายทักษิณ ได้ปรากฏตัวในแผ่นดินไทย พร้อมครอบครัว ก้มกราบพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง พระราชินี ก่อนทักทายกับผู้ที่มารอต้อนรับ ก่อนจะเดินกลับเข้าอาคาร เพื่อเตรียมเดินทางไปยังศาลฎีกาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
จากนั้นนายทักษิณ เดินทางถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งทันทีที่ขบวนรถมาถึงกลุ่มมวลชนที่ปักหลักรอให้กำลังใจได้ส่งเสียงตะโกนต้อนรับว่า ‘นายกทักษิณ’ ด้วยความดีใจ โดยขบวนรถนายทักษิณ เลี้ยวเข้ามายังถนนราชดำเนินใน ก่อนจะเลี้ยวเข้าศาลฎีกา ทางประตู 3 โดยใช้เวลาภายในศาลประมาณ 30 – 45 นาที ก่อนรถขบวนของนายทักษิณจะออกในประตู 3 เพื่อเดินทางไปยังเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร
โดยศาลฎีกาออกหมายจำคุก นายทักษิณ รวม 3 คดี คือ 1.คดีคดีหมายเลขดำที่ อม. 3/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 4/2551 ระหว่าง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) โดย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ นายทักษิณ ชินวัตร จำเลย
2.คดีหมายเลขดำที่ อม. 1/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 10/2552 ระหว่าง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดย คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ นายทักษิณ ชินวัตร ที่ 1 กับพวกรวม 47 คน จำเลย
3.คดีหมายเลขดำที่ อม. 9/2551 คดีหมายเลขแดงที่ อม. 5/255 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระหว่าง อัยการสูงสุด โจทก์ นายทักษิณ ชินวัตร จำเลย
โดยฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แจ้งให้จำเลยทราบคำพิพากษาแล้ว ซึ่งทั้ง 3 คดีดังกล่าว รวมโทษ 8 ปี และให้ส่งตัว นายทักษิณเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทันที
แต่ในช่วงกลางดึกของวันที่ 22 สิงหาคม 2566 หลังถูกนำตัวเข้าเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร ได้ไม่กี่ชั่วโมง นายทักษิณ มีอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก วัดความดันโลหิตสูง ระดับออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ และมีประวัติป่วยหลายโรค อาทิ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ความดันโลหิตสูง, พังผืดในปอด, กระดูกสันหลังเสื่อม โดยโรคที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือโรคหัวใจ ทำให้เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร นำตัวนายทักษิณส่งโรงพยาบาลตำรวจในเวลาต่อมา
ซึ่งหลังจากนายทักษิณ เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ยังไม่มีภาพปรากฎตัวต่อสื่อมวลชนแต่อย่างใด แต่มีการให้ข่าวการรักษาออกมาจากทางโรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะ และในระหว่างการรักษาตัวของนายทักษิณ ที่โรงพยาบาลตำรวจ ก็ได้มีการดูแลความปลอดภัย ทั้งเจ้าที่กรมราชทัณฑ์ และตำรวจในพื้นที่
อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 ระหว่างการรักษาตัวของนายทักษิณที่โรงพยาบาลตำรวจ หลังถูกนำตัวเข้าควบคุมในเรือนจำกลางพิเศษกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลาประมาณ 10 วัน เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชหัตถเลขาพระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษ นายทักษิณ จากโทษจำคุก 8 ปี เหลือเพียง 1 ปี เนื่องจากเคยดำรงตำแหน่งนายกฯ ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ จงรักภักดี และมีอาการป่วย ยอมรับการกระทำผิดและสำนึกในความผิด ตามที่นายทักษิณ ยื่นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เพื่อจะได้ใช้ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ช่วยเหลือและทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และประชาชนสืบไป
ทั้งนี้ผลจากการที่นายทักษิณ เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ทำให้มีหลายบุคคล-องค์กร ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหลายหน่วยงาน เพื่อให้มีการตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับนายทักษิณหรือไม่ อาทิ นายศรีสุวรรณ จรรยา ผู้นำองค์กรรักชาติ รักแผ่นดิน ที่มีการยื่นเรื่องร้องเรียนต่อกระทรวงยุติธรรม แพทยสภา ป.ป.ช. เพื่อให้ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าว หรือ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสี ได้ยื่นหนังสือต่อนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ ให้ตอบสังคมว่านายทักษิณได้รับสิทธิ์เหนือผู้ต้องขังทั่วไปหรือไม่ รวมทั้ง เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ที่มีการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากนับระยะเวลาจนถึงปัจจุบัน นายทักษิณเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ เป็นเวลามากกว่า 110 วัน หรือ 3 เดือนเศษ ขณะที่อัตราโทษคงเหลือ 8 เดือนเศษ
กฟภ.ขายพันธบัตร 3 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 3.84% ต่อปี จ่ายทุก 6 เดือน
ตำรวจไล่เก็บภาพวงจรปิด เตรียมออกหมายเรียก "สมรักษ์ คำสิงห์" พบพนักงานสอบสวน
หมอทหารคลั่ง ! ใช้อาวุธปืนยิงขู่ในหมู่บ้านย่านสมุทรปราการ